วางแผนภาษีให้ดี ก็มีเงินเหลือเก็บ

🔵 หมวดลดหย่อนสำหรับตัวเองและครอบครัว

1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว – 60,000 บาท

2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส – 60,000 บาท โดยคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ และจดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย

3. ค่าลดหย่อนบุตร – บุตรคนแรก 30,000 บาท และตั้งแต่บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป (เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561) คนละ 60,000 บาท

4. ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา – คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท

5. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ – คนละ 60,000 บาท ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท มีบัตรประจำตัวผู้พิการ และมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด – ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท

🔵 หมวดลดหย่อนค่าประกัน

1. ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ –ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

2. ประกันสุขภาพบิดามารดา –ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

3. ประกันสุขภาพตัวเอง – ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

🔵 หมวดลดหย่อนการเกษียณอายุ

1. ประกันชีวิตแบบบำนาญ* – 15% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

2. กองทุนบำเหน็จบำนาจข้าราขการ (กบข.)* – 30% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน* – 15% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

4. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)* – 30% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

5. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช). *- สูงสุด 30,000 บาทต่อปี

6. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) * – 30% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

7. กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) – 30% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

8. เงินประกันสังคม – ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

*ค่าลดหย่อนข้อ 1-6 รวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

🔵 หมวดลดหย่อนเงินบริจาค

เงินบริจาคที่สามารถนำมาลดหย่อนได้มี 3 แบบ

1. บริจาคทั่วไป – 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้ว

2. บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ – ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค สูงสุดไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อนแล้ว

3. บริจาคพรรคการเมือง – สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

🔵 หมวดลดหย่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย – ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

2. โครงการช้อปดีมีคืน 2566 – ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. พ.ศ. 2566 การซื้อสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าในหมวดหนังสือ (รวมถึง e-book) และสินค้า OTOP ภายในประเทศ สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดย 30,000 บาทแรก เป็นสินค้าและบริการที่มีใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีรูปแบบกระดาษหรือแบบอิเล็คทรอนิกส์ และอีก 10,000 บาท เป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์

3. เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) – ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยเป็นคนที่ลงหุ้นหรือลงทุนในธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 และต้องถือหุ้นจนกว่าวิสาหกิจนั้นจะเลิกกิจการ

ทั้งหมดนี่เป็นค่าลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ที่เรารวบรวมมาให้ เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

Credit :สมาคมนักวางแผนการเงินไทย